วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การทำแมโครในไมโครซอฟต์เวิร์ด

วิธีการทำแมโครในไมโครซอฟต์เวิร์ด
การสร้างเมนูคำสั่งใน MS Office ด้วย Macro
Macro คืออะไรMacro เป็นลักษณะการใช้งานพิเศษที่ผู้ใช้โปรแกรมประยุกต์ในกลุ่มของ Microsoft Office สามารถเรียกใช้งานเพื่อการสร้างคำสั่งขึ้นใหม่ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นและประหยัดเวลาในการใช้งานบางอย่างที่ต้องทำเป็นขั้นตอนซ้ำ ๆการสร้าง Macro ใน Microsoft Wordการบันทึก Macroเปิดเอกสารที่ต้องการจะบันทึก Macroคลิกที่เมนู Tools เลือกMacro > New Macro…
พิมพ์ชื่อของคำสั่งที่ต้องการใน Macro name box จากนั้นใน Store macro in box คลิกเลือกว่าต้องการเก็บ macro ที่สร้างนี้ไว้ที่ใด แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มการบันทึก








บนจอภาพจะปรากฏกรอบแสดงปุ่มควบคุมการบันทึก และที่ pointer ของเมาส์จะปรากฏสัญลักษณ์เครื่องบันทึกเทป ณ ขณะนั้นถ้ามีการพิมพ์ หรือ คลิกเลือกคำสั่งใด กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะถูกเก็บบันทึกไว้ตามขั้นตอนที่เกิดขึ้น เมื่อต้องการหยุดการบันทึกชั่วคราวก็กดปุ่ม Pause หรือ กดปุ่ม Stop เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมที่ต้องการบันทึกสำหรับ macro นั้นการเรียกใช้ Macroคลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Macro > Macros… จะพบ Macro ที่ได้บันทึกไว้ในกรอบรายชื่อของ Macroถ้าต้องการให้ macro ใดทำงาน ให้คลิกเลือกชื่อ macro นั้น แล้วคลิกที่ปุ่ม Runการแก้ไข Macroคลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Macro4Macros… คลิกเลือกชื่อ macro ที่ต้องการแก้ไข แล้วคลิกที่ปุ่ม Editจะปรากฏวินโดว์ของ Microsoft Visual Basic ซึ่ง Word กำหนดไว้ให้เป็น Editor พร้อมกับวินโดว์ที่แสดง Code คำสั่ง ซึ่ง Word ได้แปลงขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้ ในกรณีที่เข้าใจคำสั่ง Visual Basic ก็สามารถทำการแก้ไข code ได้ตามต้องการเมื่อต้องการกลับไปที่ Word ให้คลิกที่ไอคอนของ Word บน Toolbarการสร้างเมนูคำสั่งสำหรับเรียกใช้ Macroเมื่อได้มีการสร้าง Macro แล้ว และต้องการจัดทำเป็นเมนูเพื่อให้สามารถเรียกใช้ Macro ได้โดยสะดวก ก็สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้เปิด Document หรือ Template ที่มีได้บันทึก Macro ไว้คลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Customize… เลือกแถบ Commands ที่ Categories box คลิกที่ Macrosคลิกที่ Macro ที่ต้องการ แล้วลากเมาส์เพื่อนำ Macro ไปวางที่ Menu barคลิกปุ่ม Closeเมื่อต้องการเรียกใช้ Macro นั้น ก็สามารถคลิกที่เมนูได้ตามต้องการMacro Security ใน Microsoft Officeเนื่องจากปัญหาการระบาดของ macro virus โปรแกรมในกลุ่ม Microsoft Office จึงกำหนดให้มีการตั้ง security สำหรับการตรวจหา macro และเตือนผู้ใช้ว่ามี custom macro ในแฟ้มที่กำลังจะเปิด ผู้ใช้ต้องระบุว่าจะต้องการเปิดแฟ้มในลักษณะที่ยอมให้ macro ทำงานหรือไม่ (diable หรือ enable macro)ใน Microsoft Office 2000 ถ้าต้องการปรับเปลี่ยน Security ของ Macro ให้คลิกที่ Tools เลือกคำสั่ง Macro > Security… ซึ่งจะพบว่ามีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้High ถ้าเลือกระดับนี้ Macro ที่ได้ผ่านการรับรองเท่านั้นที่จะยอมให้ทำงานได้ Macro อื่น ๆ จะไม่สามารถทำงานได้Medium ถ้าเลือกระดับนี้ ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนกำหนดเองว่าจะยอมให้ macro ทำงานหรือไม่Low ถ้าเลือกระดับนี้ จะเป็นการยอมให้ macro ทำงานได้ทันทีที่มีการเปิดแฟ้มนั้น ๆ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยในเรื่องการป้องกัน virusในกรณีที่มีการสร้าง macro ไว้ใช้งาน อาจจะเลือก Security ระดับ Medium และก่อนจะเปิดแฟ้มที่มี macro ควรจะให้แน่ใจว่ามาจากแหล่งที่เชื่อถือได้

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งภาษาซี 5 คำสั่ง

ฟังก์ชันรับข้อมูล scanf()
ความหมายเป็นฟังก์ชันที่รับค่าจากอุปกรณ์นำเข้ามาตรฐาน และนำค่าที่ได้เก็บไว้ในตัวแปรในโปรแกรม ฟังก์ชันรับข้อมูลโดยกำหนดรูปแบบ ฟังก์ชันรับข้อมูลโดยกำหนดรูปแบบนั้นได้แก่ ฟังก์ชัน scanf() ฟังก์ชัน scanf() เป็นฟังก์ชันที่รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร โดยตัวแปรเหล่านี้ต้องเป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูล ที่มีชนิดสอดคล้องกับรูปแบบการรับข้อมูลที่ได้กำหนดไว้ในฟังก์ชัน scanf() การรับข้อมูลของฟังก์ชัน scanf () นี้เป็นการอ่านจากอินพุตบัฟเฟอร์ (Input buffer) ซึ่งต้องเคาะปุ่ม Enter เพื่อบอกการสิ้นสุดของข้อมูล และค่าที่ส่งกลับมายังฟังก์ชัน scanf () จะมีค่าเท่ากับจำนวนข้อมูลที่ฟังก์ชันนี้รับได้ การรับข้อมูลจะต้องใช้เครื่องหมาย & นำหน้าตัวแปร ยกเว้นตัวแปรที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ เช่น ตัวแปรสตริง หรือตัวแปรชุด ฟังก์ชัน scanf () นี้ถูกนิยามในแฟ้ม stdio.h มีรูปแบบดังนี้รูปแบบคำสั่ง
รูปแบบ scanf (control,argument-list) ;
argument-list
หมายถึง ตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปรที่จะรับค่าจากแป้นพิมพ์ ถ้ามีมากกว่า 1 ค่าจะต้องแยกด้วยเครื่องหมายคอมม่า ( , )
control
หมายถึง รูปแบบที่ใช้ในการรับข้อมูล ซึ่งจะต้องเขียนภายใต้เครื่องหมายคำพูด (" ") และมีรูปแบบชนิดข้อมูลที่รับ โดยใช้สัญลักษณ์ดังตารางที่5.2 และแต่ละสัญลักษณ์จะต้องมีเครื่องหมาย % นำหน้า
รูปแบบการพิมพ์
เครื่องหมาย
ความหมาย
%d
พิมพ์ด้วยตัวเลขฐานสิบ
%f
พิมพ์ตัวเลขมีจุดทศนิยม
%c
พิมพ์ด้วยตัวอักษรตัวเดียว
%s
พิมพ์ด้วยข้อความ
%u
พิมพ์ด้วยตัวเลขไม่คิดเครื่องหมาย
ตัวอย่างคำสั่งscanf ("LKS isLumpang %s School",name);อธิบายตัวอย่างคำสั่งคำสั่ง scanf จะรับค่าจากแป้นพิมพ์ โดยค่าที่ได้จะเก็บไว้ในตัวแปร nameสังเกตว่าจะไม่มีผลลัพธ์ปรากฏบนจอภาพ เนื่องจากฟังก์ชัน scanf เป็นเพียงเก็บค่าไว้ในตัวแปรเท่านั้นและจะนำตัวแปร name ไปใช้งานอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับนักเขียนโปรแกรมอีกที 1

2.ฟังก์ชัน scanf()
ฟังก์ชัน scanf() มีรูปแบบดังนี้
scanf(“format code”, &var);
เมื่อโปรแกรมทำงานถึงฟังก์ชันนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อมูล โดยข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จกด Enter ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บในตัวแปร var ชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้กับตัวแปร var จะถูกกำหนดโดยตัวกำหนดชนิดข้อมูลซึ่งระบุในส่วนของ format code ตัวกำหนดชนิดข้อมูลของฟังก์ชัน scanf() จะเหมือนกับของฟังก์ชัน printf() ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว ฟังก์ชัน scanf() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enter
โมดิฟายเออร์ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว สามารถนำมาใช้กับฟังก์ชัน scanf() ได้ในลักษณะเดียวกัน
ตัวอย่าง โปรแกรมที่ 1
#include”stdio.h”
main()
{
int num;
float x;
double y;
printf(“ Enter integer number “);
scanf(“%d”,&num);
printf(“ Enter floating point number “);
scanf(“%f”,&x);
scanf(“%f”,&x);
printf(“ Enter double precision floating point number “);
scanf(“%lf”,&y);
printf(“\n”);
printf(“ Integer number %d\n”,num);
printf(“ Floating point number %10.4f\n,x);
printf(“ Double precision floating point number %10.4f\n”,y);
}

3.ฟังก์ชัน getchar()
ฟังก์ชัน getchar() ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง 1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอภาพ
ch = getchar();
เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนตัวอักษร 1 ตัว หลังจากนั้นกด Enter ตัวอักษรที่ป้อนจะถูกเก็บไว้ในตัวแปร ch ซึ่งเป็นชนิดตัวอักษรและเคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getchar() กำหนดในไฟล์ stdio.h เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()
ตัวอย่าง โปรแกรมที่ 9
#include”stdio.h”
main()
{
char ch;
printf(“ Type one character “);
ch = getchar();
printf(“ The character you typed is %c\n”,ch);
}

4.ฟังก์ชัน getche() และ getch()
ฟังก์ชัน getche() และ getch() มีรูปแบบดังนี้
ch = getche();
ch = getch();
ฟังก์ชัน getche() จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์ และจะแสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่
ฟังก์ชัน getch() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getche() ต่างกันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล
ฟังก์ชัน getche() และ getch() กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม
ตัวอย่าง โปรแกรมที่ 11
#include”stdio.h”
#include”conio.h”
main()
{
char ch;
printf(“ Type one character “);
ch = getche();
printf(“\n”);
printf(“ The character you typed is “);
putchar(ch);
}

5. ฟังก์ชัน gets
ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์โดยมีรูปแบบดังนี้
gets(str);
เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อความ เมื่อป้อนเสร็จแล้วกด Enter ข้อความทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอาร์เรย์สตริงก์ str โดย carriage return ( จากการกด Enter) จะแทนด้วยสตริงก์ศูนย์ดังได้กล่าว ฟังก์ชัน gets() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enter และกำหนดในไฟล์ stdio.h
ตัวอย่าง โปรแกรมที่ 13
#include”stdio.h”
main()
{
char message[50];
printf(“ Enter a message(less than 49 characters)\n”);
gets(message);
printf(“ The message you entered is %s\n”,message);
}

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติภาษาซี

ภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร

ภาษาซีเป็นภาษาที่มีลักษณะเด่นพอสรุปได้ดังนี้
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาขึ้นใช้งานเพื่อเป็นภาษามาตรฐานที่ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงานและไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า "โปรแกรมโครงสร้าง" จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ
- เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้รหัสออบเจ็กต์สั้น ทำงานได้รวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการ ความรวดเร็วเป็นสำคัญ
- มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลี ภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดี ค้นหาที่ผิดหรือ แก้โปรแกรมได้ง่าย ภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ
- มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การพัฒนาโปรแกรม เช่น เวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต ดาตาเบส ฯลฯ มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
- เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงาน มีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 8 บิต ไปจนถึง 32 บิต เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม
- เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนา จนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษา และวิธีการเขียนโปรแกรม ตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ . ดารารัตน์ บัวลอย

ชื่อเล่น . ยุ้ยสส์

เกิด . 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2535

ศึกษาที่ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี

ชั้น ปวช.2/3 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ